พระพุทธรูปประจำวันเกิด ทั้ง 7 วัน

พระประจำวันเกิด ทั้ง 7 วัน

พระพุทธรูปประจำวันเกิด ทั้ง 7 วัน

พระพุทธรูปปางต่างๆ ที่เป็นพระประจำวันเกิด ทั้ง 7 วันนั้น มีการกำหนดไว้ตั้งแต่ยุคไหน สมัยใด ไม่เป็นที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนแน่ชัด ตั้งแต่สมัยโบราณได้มีการสร้างพระพุทธรูปไว้จำนวนมาก มีปางต่างๆ แตกต่างกันไป ตามแต่ละพื้นที่ และยุคสมัย เพื่อเป็นพุทธานุสติน้อมนำใจให้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคัดเลือกพุทธอิริยาบถปางต่างๆ สืบค้นตามพุทธประวัติมาสร้างเพิ่มเติมขึ้น เมื่อนับรวมกับแบบเดิมก็ได้ทั้งสิ้น 40 ปาง

พระประจำวันเกิด แต่ละวัน แต่ละปาง จะมีคาถาบูชาพระประจำวันเกิด แยกเป็นคาถาบูชาแต่ละวันเกิดอย่างชัดเจน เราได้ รวมคาถาบูชาพระประจำวันเกิด ทั้ง 7 วัน ไว้ให้เพื่อสืบค้นเก็บไว้สวดเพื่อความเป็นสิริมงคล เสริมบารมี ป้องกันภัย แคล้วคลาด เสริมจากการทำบุญ และการทำความดี

พระประจำวันเกิดคนเกิดวันอาทิตย์

พระประจำวันอาทิตย์

พระประจำวันอาทิตย์ ปางถวายเนตร
พระประจำวันอาทิตย์ ปางถวายเนตร

พระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์ พระพุทธรูปปางถวายเนตร

พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางถวายเนตร :

พระพุทธรูปปางถวายเนตร เป็นพระประจำวันเกิดคนเกิดวันอาทิตย์ ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้ายอยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์

บทสวดมนต์แบบย่อ บูชาพระประจําวันอาทิตย์  : 

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ”

สวด ๖ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต
บทสวดบูชาพระประจำวันอาทิตย์ (พระปางถวายเนตร) ฉบับเต็ม

พระประจำวันเกิดคนเกิดวันจันทร์

พระประจำวันจันทร์

พระประจำวันจันทร์ ปางห้ามสมุทร
พระประจำวันจันทร์ ปางห้ามสมุทร

พระพุทธรูปประจำวันจันทร์ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร

พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร :

พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร เป็นพระประจำวันเกิดคนเิดวันจันทร์ ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม ต่างกันที่ปางห้ามญาติที่ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นห้ามเพียงข้างเดียว

บทสวดมนต์แบบย่อ บูชาพระประจําวันจันทร์ : 

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

“อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา

สวด ๑๕ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต
บทสวดบูชาพระประจำวันจันทร์ (พระปางห้ามสมุทร) ฉบับเต็ม

พระประจำวันเกิดคนเกิดวันอังคาร

พระประจำวันอังคาร

พระประจำวันอังคาร ปางไสยาสน์
พระประจำวันอังคาร ปางไสยาสน์

พระพุทธรูปประจำวันอังคาร พระพุทธรูปปางไสยาสน์

พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางไสยาสน์ :

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ เป็นพระประจำวันเกิดคนเเกิดวันอังคาร อยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)

บทสวดมนต์แบบย่อ บูชาพระประจําวันอังคาร : 

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

“ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง

สวด ๘ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต
บทสวดบูชาพระประจำวันอังคาร (พระปางไสยาสน์) ฉบับเต็ม

พระประจำวันเกิดคนเกิดวันพุธ (กลางวัน)

พระประจำวันพุธ (กลางวัน)

พระประจำวันพุธกลางวัน ปางอุ้มบาตร
พระประจำวันพุธกลางวัน ปางอุ้มบาตร

พระพุทธรูปประจำวันพุธกลางวัน พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร

พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร :

พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เป็นพระประจำวันเกิดคนเกิดวันพุธกลางวัน ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดติดกัน พระหัตถ์ทั้งสองข้างชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรอยู่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง

บทสวดมนต์แบบย่อ บูชาพระประจําวันพุธกลางวัน:  : 

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

“ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท

สวด ๑๗ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต
บทสวดบูชาพระประจำวันพุธกลางวัน (พระปางอุ้มบาตร) ฉบับเต็ม

พระประจำวันเกิดคนเกิดวันพุธ (กลางคืน)

พระประจำวันพุธ (กลางคืน)

พระประจำวันพุธกลางคืน ปางป่าเลไลย์
พระประจำวันพุธกลางคืน ปางป่าเลไลย์

พระพุทธรูปประจำวันพุธกลางคืน พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์

( ผู้ที่เกิดหลังเวลา 18.00 น. ของวันพุธ )

พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ :

พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ เป็นพระประจำวันเกิดคนเกิดวันพุธกลางคืน ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนแท่นศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย

บทสวดมนต์แบบย่อ บูชาพระประจําวันพุธกลางคืน : 

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

“ภะ สัม สัม วิ สะ เท กะ

สวด ๑๙ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต
บทสวดบูชาพระประจำวันพุธกลางคืน (พระปางป่าเลไลยก์) ฉบับเต็ม

พระประจำวันเกิดคนเกิดวันพฤหัสบดี

พระประจำวันพฤหัสบดี

พระประจำวันพฤหัสบดี ปางสมาธิ
พระประจำวันพฤหัสบดี ปางสมาธิ

พระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปปางสมาธิ

พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางสมาธิ :

พระพุทธรูปปางสมาธิ เป็นพระประจำวันเกิดคนเกิดวันพฤหัสบดี ในพระอริยาบถประทับขัดสมาธิ (นั่ง) พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย

บทสวดมนต์แบบย่อ บูชาพระประจําวันพฤหัสบดี : 

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

“วา โธ โน อะ มะ มะ วา

สวด ๒๑ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

บทสวดบูชาพระประจำวันพฤหัสบดี

บทสวดบูชาพระประจำวันพฤหัสบดี (พระปางสมาธิ) ฉบับเต็ม

พระประจำวันเกิดคนเกิดวันศุกร์

พระประจำวันศุกร์

พระประจำวันศุกร์ ปางรำพึง
พระประจำวันศุกร์ ปางรำพึง

พระพุทธรูปประจำวันศุกร์ พระพุทธรูปปางรำพึง

พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางรำพึง :

พระพุทธรูปปางรำพึง เป็นพระประจำวันเกิดคนเกิดวันศุกร์ ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกัน ยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

บทสวดมนต์แบบย่อ บูชาพระประจําวันศุกร์ : 

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

“โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ

สวด ๑๐ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต
บทสวดบูชาพระประจำวันศุกร์ (พระปางรำพึง) ฉบับเต็ม

พระประจำวันเกิดตนเกิดวันเสาร์

พระประจำวันเสาร์

พระประจำวันเสาร์ ปางนาคปรก
พระประจำวันเสาร์ ปางนาคปรก

พระพุทธรูปประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก

พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางนาคปรก :

พระพุทธรูปปางนาคปรก เป็นพระประจำวันเกิดคนเกิดวันเสาร์ ในพระอริยาบถประทับขัดสมาธิ (นั่ง) หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์ และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียรองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

บทสวดมนต์แบบย่อ บูชาพระประจําวันเสาร์ : 

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

“คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ

สวด ๑๒ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

บทสวดบูชาพระประจำวันเสาร์ (พระปางนาคปรก) ฉบับเต็ม


เขียนคอมเมนท์