พระประจำวันพฤหัสบดี - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปปางสมาธิ

พระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางตรัสรู้

พระประจำวันพฤหัสบดี เป็นพระปางสมาธิ บางทีเรียกว่า “ปางตรัสรู้” มาจากเมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับขัดสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคาใต้ต้นมหาโพธิ์ ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา และได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ หรือที่เรียกว่า “วันวิสาขบูชา”

พระประจำวันพฤหัสบดี ปางสมาธิ
พระประจำวันพฤหัสบดี ปางสมาธิ

ประวัติ พระประจำวันพฤหัสบดี

ประวัติกล่าวไว้ว่า ครั้งพระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์ทรงกำจัดพญามาร และเสนามารให้ปราชัยด้วยพระบารมี ตั้งแต่เวลาสายันต์มิทันพระอาทิตย์จะอัสดงคต ก็ทรงเบิกบานพระทัยได้ปีติเป็นกำลังภายในสนับสนุนเพิ่มพูนแรงปฏิบัติสมาธิภาวนาให้ยิ่งขึ้น ดังนั้นพระองค์จึงมิได้ทรงพักให้เสียเวลา ทรงเจริญสมาธิภาวนาทำจิตให้ปราศจากอุปกิเลสจนจิตสุขุมเข้าโดยลำดับ ไม่ช้าก็ได้บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน อันเป็นรูปสมบัติตามลำดับ

ต่อจากนั้นก็ทรงเจริญฌานอันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูง ๓ ประการ ยังองค์พระโพธิญาณให้เกิดขึ้นเป็นลำดับ ตามลำดับแห่งยามสามอันเป็นส่วนราตรีนั้น คือในปฐมยามทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกอดีตชาติที่พระองค์ทรงบังเกิดมาแล้วทั้งสิ้นได้ ในมัชฌิมยามทรงบรรลุจุตูปปาตญาณหรือทิพจักขุญาณ สามารถหยั่งรู้การเกิด การตาย ตลอดจนกานเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลายอื่นได้หมด ในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงพระปรีชาสามารถทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไปด้วยปัญญาพิจารณาในปัจจยาการแห่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลมทั้งฝ่ายเกิดและฝ่ายดับสาวไปข้างหน้า และสาวกลับไปมา ก็ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาปัจจุสสมัยรุ่งอรุโณทัยทรงเบิกบานพระฤทัยอย่างสูงสุดในการตรัสรู้อย่างที่ไม่เคยมีในกาลก่อน ถึงกับทรงเปล่งอุทานเย้ยตัณหาอันเป็นตัวการ ก่อให้เกิดสังสารวัฏฏทุกข์แก่พระองค์แต่อเนกชาติได้ว่า “อเนกชาติ สํสารํ” เป็นอาทิความว่า นับแต่ตถาคตท่องเที่ยวสืบเสาะหาตัวนายช่างเรือนคือ ตัวตัณหา ตลอดชาติอันจะนับประมาณมิได้ ก็มิได้พบพาน ดูกรตัณหานายช่างเรือนผู้สร้างภพชาติให้แก่เรา บัดนี้เราได้พบท่านแล้ว แต่นี้สืบไป ท่านจะทำเรือนให้ตถาคตอีกไม่ได้แล้ว กลอนเรือนเราก็ได้รื้อออกแล้ว ช่อฟ้าเราก็ได้ทำลายแล้ว จิตของเราปราศจากสังขารเครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นเสียแล้ว เราได้ถึงความดับสูญสิ้นไปแห่งตัณหา อันหาส่วนเหลือโดยประการใดๆมิได้เลย

ในขณะนั้น มหาอัศจรรย์ก็บังเกิดมีขึ้น กล่าวคือ พื้นมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ก็หวั่นไหว พฤกษาชาติทั้งหลายก็ผลิดอกออกช่องามตระการตา เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าก็แซ่ซ้องสาธุการโปรยปรายบุปผามาลัยทำการสักการบูชา เปล่งวาจาว่า พระสมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ด้วยปีติยินดีเป็นอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมาในกาลก่อน เรื่องนี้ จึงเป็นมูลให้มีการสร้างพระพุทธรูป “ปางตรัสรู้” เพื่อเป็นพุทธานุสสติอนุสรณ์ฉะนี้แล

พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้ :

พระพุทธรูปในพระอริยาบถประทับขัดสมาธิ (นั่ง) พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย

ทำไมพระประจำวันพฤหัสบดี จึงเป็นพระปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้ :

เหตุที่พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัสบดีกำหนดเป็นพระปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้ ด้วยเพราะดาวพฤหัสบดีมีความหมายถึง ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง ศาสนาศีลธรรม และสติปัญญา ฯลฯ อีกทั้งยังถือเป็นวันครู ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นพระบรมครูที่ทรงสั่งสอนพุทธบริษัทและเหล่าเวไนยสัตว์ ซึ่งปางตรัสรู้นี้จึงสอดคล้องกับลักษณะดาวพฤหัสบดีพอดี

รายชื่อพระพุทธรูปปางสมาธิ พระประจำวันพฤหัสบดี

  • พระพุทธโสธร(หลวงพ่อโสธร) พระอุโบสถหลวง วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา
  • พระประธานยิ้มรับฟ้า วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร จ.กรุงเทพมหานคร
  • พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) จ.กรุงเทพมหานคร

บทสวดบูชาพระประจําวันพฤหัสบดี แบบย่อ :

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

“วา โธ โน อะ มะ มะ วา

สวด ๑๙ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

คาถาบูชาพระประจำวันพฤหัสบดี

บทสวดบูชาพระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี(แบบย่อ)

พิกัด ไหว้พระประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้

พระประจำวันเกิด 7 วัน

พระประจำวันเสาร์ - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันเสาร์ แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันเสาร์ สวด ๑๐ จบ พิกัดไหว้พระประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก และประวัติพระประจำวันเสาร์พระพุทธรูป
รายละเอียด
พระประจำวันศุกร์ - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันศุกร์ พระพุทธรูปปางรำพึง

พระประจำวันศุกร์ พระพุทธรูปปางรำพึง คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันศุกร์ แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันศุกร์ สวด ๒๑ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางรำพึง การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป
รายละเอียด
พระประจำวันพุธกลางคืน - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันพุธ กลางคืน พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์

พระประจำวันพุธกลางคืน พระพุทธรูปปางป่าเลไยก์ คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันพุธกลางคืน แบบย่อ สวด ๑๒ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ (ปางปาลิไลยก์) การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป
รายละเอียด
พระประจำวันพุธกลางวัน - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันพุธ กลางวัน พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร

พระประจำวันพุธกลางวัน พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันพุธกลางวัน แบบย่อ สวด ๑๗ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป
รายละเอียด
พระประจำวันอังคาร - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันอังคาร พระพุทธรูปปางไสยาสน์

พระประจำวันอังคาร พระพุทธรูปปางไสยาสน์ คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันอังคาร แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันอังคาร สวด ๘ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางไสยาสน์ การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป
รายละเอียด
พระประจำวันจันทร์ - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันจันทร์ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร

พระประจำวันจันทร์ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันจันทร์ แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันจันทร์ สวด ๑๕ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป
รายละเอียด
พระประจำวันอาทิตย์ - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันอาทิตย์ พระพุทธรูปปางถวายเนตร

พระประจำวันอาทิตย์ พระพุทธรูปปางถวายเนตร คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันอาทิตย์ แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันอาทิตย์ สวด ๖ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางถวายเนตร การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป
รายละเอียด
พระประจำวันพฤหัสบดี - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปปางสมาธิ

พระประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้ คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันพฤหัสบดี แบบย่อ คนเกิดวันพฤหัสบดี สวด ๑๙ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้ การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป
รายละเอียด

ที่มาของประวัติความเป็นมา:

  • เว็บไซต์ ฐานข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น
    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

เขียนคอมเมนท์