คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ เทพแห่งความมั่งคั่งร่ำรวย ท้าวจตุโลกบาล เทวดาประจำทิศเหนือ

คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ เทพแห่งความมั่งคั่งร่ำรวย บันดาลโชคลาภ

สวดบูชาท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ท้าวจตุโลกบาล โภคทรัพย์ โชคลาภ บารมี

ท้าวจตุโลกบาลมีหน้าที่ที่เป็นผู้ปกครองแดนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาและเหล่าบริวาร ยักษ์ กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ แลพญานาคแล้ว ท้าวจตุโลกบาล (ท้าวจาตุมหาราช) ยังมีหน้าที่ดูแลโลกมนุษย์ทั้ง 4 ทิศในเรื่องของการปรกครอง เทวดาต่างๆที่เป็นเทวดารักษาเขตต่างๆของโลกมนุษย์ รวมถึงพระภูมิ เจ้าที่ การปรกครองดูแลของท้าวจตุโลกบาล (ท้าวจาตุมหาราช) ท่านก็จะดูแลตามลำดับชั้นกันไป โดยท้าวมหาราชทั้ง 4 ท่านเป็นใหญ่ที่สุด และมีเทวดาที่ตำแหน่งต่ำลงมาตามลำดับชั้น แบ่งหน้าที่กันปกครองดูแล เพื่อดูแลความเรียบร้อยและความสงบสุขของโลกมนุษย์ตามตำนานท้าวเวสสุวรรณ กล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร เป็นเทพผู้ดูแลประจำทิศเหนือ (ทิศอุดร) ทำหน้าที่ปกครองยักษ์ มีลักษณะแบบยักษ์มีกายสีทองหรือสีเขียว มือขวาถือกระบองประดับยอดด้วยดวงแก้วเป็นอาวุธ มือซ้ายแสดงท่ามุทรา สวมศิราภรณ์ทรงมงกุฎยอดน้ำเต้า สวมกรองศอ สวมเกราะเสื้อแขนสั้นสีน้ำเงินขาบเข้มแต่งกนกปลายแขนเสื้อแทนพาหุรัด นุ่งผ้าลายดอกพื้นเขียว กำไลมือ ข้อเท้า เป็นเครื่องตกแต่ง สนับเพลาลายดอกพื้นสีส้มอ่อน เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่ท่าน จึงมีคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณมาฝาก

ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร เทพแห่งความมั่งคั่ง ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 เทวดาผู้ปกครองทิศเหนือ
ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร เทพแห่งความมั่งคั่ง ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 เทวดาผู้ปกครองทิศเหนือ

คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร)

พิธีกรรมทางโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ หรือแม้แต่การประกอบพิธีกรรมของพรามณ์ เมื่อเริ่มประกอบพิธีกรรมใดๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ สถานที่ ความสงบสุขร่มเย็น หรือพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในตำราการทำพิธี หรือการบวงสรวงนั้นก็จะมีบทที่กล่าวถึงการอันเชิญท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 นี้เสมอ พิธีกรรมทางประเพณีล้านนา ภาคเหนือของไทย การประกอบพิธีสักการะท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวที่งสี่นี้ เรียกว่า พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่

คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร คาถาบูชาท้าวกุเวร เทพเทวดา
คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร คาถาบูชาท้าวกุเวร เทพเทวดา

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

“อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะ
พันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง
อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ”

นอกจากสวดคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณแล้วผู้ที่บูชาท้าวเวสสุวรรณนิยมสวดคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณแต่ละบท 9 จบ เพื่อความเป็นสิริมงคล ให้สอดคล้องกับตัวเลข 9 ในจำนวนธูปและดอกกุหลาบสำหรับสักการะ หากสวดบูชาเป็นประจำ ชีวิตจะเจริญก้าวหน้า พบเจอแต่สิ่งที่เป็นมงคล มีโชคลาภไม่ขาดมือ ซึ่งต้องประกอบกับการคิดดี ทำดี ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นแล้วชีวิตจะรุ่งเรือง แนะนำให้สวดคาถาอัญเชิญท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 และคาถาชุมนุมเทวดาด้วย


คาถาอัญเชิญท้าวมหาราชทั้ง 4 และคาถาชุมนุมเทวดา

ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ
คันธัพพานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าวธตรฏฐ์

แปล คาถาบูชาท้าวธตรฏฐ์ (ท้าวธตรฏฐ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งคนธรรพ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันออกแม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ
กุมภัณฑานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าววิรุฬหก

แปล คาถาบูชาท้าววิรุฬหก (ท้าววิรุฬหก เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งกุมภัณฑ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศใต้ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ
นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าววิรูปักษ์

แปล คาถาบูชาท้าววิรูปักษ์ (ท้าววิรูปักษ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันตก แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมดล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ
ยักขานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าวเวสสุวรรณ

แปล คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่ แห่งยักษ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศเหนือ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)


คาถาบูชาท้าวจตุโลกบาล (แบบย่อ)

ตั้งนะโม ๓ จบ

ปุริมัง ทิสัง ธะตะรัฏ โฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ รูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา
ทัพทัฬหะมานะ อัฏฐังสุ สะทา โสตถิง กะโรนตุโน


บทชุมนุมเทวดา

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ

(ขอเชิญเหล่าเทพเจ้า ซึ่งสถิตย์อยู่ในสวรรค์ ชั้นกามภพก็ดี ชั้นรูปภพก็ดี และภูมิเทวดาซึ่งสถิตย์อยู่ในวิมาน หรือบนยอดเขาและในหุบเขา ในอากาศ ในเกาะ ในแว่นแคว้น ในบ้าน บนต้นไม้และในป่าชัฏ ในเรือน และในไร่นาก็ดี ตลอดถึง ยักษ์ คนธรรพ์ และนาค ซึ่งสถิตย์อยู่ในน้ำ บนบกและที่อันไม่ราบเรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ ขอท่านสาธุชนทั้งหลายจงตั้งใจฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐที่เรากล่าวอยู่นี้….)

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

สวดภาวนา 3 ครั้ง

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม..

สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้น ต่างนับถือท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 จะเชิญมารักษางานต่างๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานฉลองวัด งานทำบุญ การขอความคุ้มครองในวันปีใหม่ทุกปี ซึ่งประเพณีล้านนา ทางภาคเหนือของไทย การประกอบพิธีสักการะท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวที่งสี่นี้ เรียกว่า พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ ซึ่งเป็นการบวงสรวง สังเวย สักการะบูชาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ก่อนประกอบพิธีงานมงคลในวาระต่างๆ


คาถาบูชาท้าววเสสุวรรณ วัดจุฬามณี

 บูชาท้าวเวสสุวรรณ 

พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร)


ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:

  • เว็บไซต์ฐานข้อมูลพระเมรุมาศ และองค์ประกอบพระเมรุมาศ (phramerumas.finearts.go.th)
  • เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th.wikipedia.org)
  • เว็บไซต์วิกิซอร์ซ (th.wikisource.org)

เขียนคอมเมนท์