ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 (ท้าวจาตุมหาราช) เทพผู้คุ้มครองทิศทั้ง 4 ทิศ

ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 (ท้าวจาตุมหาราช) บูชาเสริมสิริมงคล อำนาจ บารมี โภคทรัพย์

บูชาท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ผู้เป็นใหญ่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา

พระพุทธศาสนากล่าวถึงผู้เป็นราชาแห่งเหล่าเทวดาประจําทิศทั้งสี่มี 4 องค์ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 หรือ ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง 4 คือ ราชาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นสวรรค์ชั้นแรกและชั้นแรกสุดในฉกามาพจรภูมิ เรียกสั้นๆว่า ชั้นจาตุม มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่อยู่ของท้าวจาตุมหาราชทั้งสี่ ผู้รักษาคุ้มครองโลกทั้ง 4 ทิศ ทำหน้าที่ดูแลรักษาทิศทั้งสี่และสอดส่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวมทั้งดูแลบริวารในอำนาจของตน ประกอบด้วย

ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร)

ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) เทพแห่งความมั่งคั่ง ท้าวจตุโลกบาลคุ้มครองทิศเหนือ
ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) เทพแห่งความมั่งคั่ง ท้าวจตุโลกบาลคุ้มครองทิศเหนือ

ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) หรือท้าวกุเวร หรือพระไพศรพณ์ เทพผู้ดูแลประจำทิศดร (ทิศอุดร) ทำหน้าที่ปกครองยักษ์ มีลักษณะแบบยักษ์มีกายสีทองหรือสีเขียว มือขวาถือกระบองประดับยอดด้วยดวงแก้วเป็นอาวุธ มือซ้ายแสดงท่ามุทรา

ท้าววิรุฬหก

ท้าววิรุฬหก เทพแห่งการคุ้มครอง ท้าวจตุโลกบาลคุ้มครองทิศใต้
ท้าววิรุฬหก เทพแห่งการคุ้มครอง ท้าวจตุโลกบาลคุ้มครองทิศใต้

ท้าววิรุฬหก เทพผู้ดูแลประจำทิศใต้ (ทิศทักษิณ) ทำหน้าที่ปกครองกุมภัณฑ์ มีลักษณะใบหน้าแบบยักษ์หน้ามนุษย์ มีกายขาบหรือน้ำเงินอมเขียว มือถือหอกเป็นอาวุธ

ท้าวธตรฐ

ท้าวธตรฐ เทพแห่งความสุขสำราญ ท้าวจตุโลกบาลคุ้มครองทิศใต้
ท้าวธตรฐ เทพแห่งความสุขสำราญ ท้าวจตุโลกบาลคุ้มครองทิศใต้

ท้าวธตรฐ เทพผู้ดูแลประจำทิศตะวันออก (ทิศบูรพา) ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์ มีลักษณะอย่างเทพบุตรรูปร่างงดงาม

ท้าววิรูปักษ์

ท้าววิรูปักษ์ เทพแห่งทรัพย์สมบัติ ท้าวจตุโลกบาลคุ้มครองทิศเหนือ
ท้าววิรูปักษ์ เทพแห่งทรัพย์สมบัติ ท้าวจตุโลกบาลคุ้มครองทิศเหนือ

ท้าววิรูปักษ์ เทพผู้ดูแลประจำทิศตะวันตก (ทิศประจิม) ทำหน้าที่ปกครองพญานาค มีกายสีเนื้ออ่อนออกขาว มีธนูเป็นอาวุธ

ลักษณะท้าวจตุโลกบาล

ลักษณะท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ)

ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) มีลักษณะแบบยักษ์มีกายสีทองหรือสีเขียว มือขวาถือกระบองประดับยอดด้วยดวงแก้วเป็นอาวุธ มือซ้ายแสดงท่ามุทรา สวมศิราภรณ์ทรงมงกุฎยอดน้ำเต้า สวมกรองศอ สวมเกราะเสื้อแขนสั้นสีน้ำเงินขาบเข้มแต่งกนกปลายแขนเสื้อแทนพาหุรัด นุ่งผ้าลายดอกพื้นเขียว กำไลมือ ข้อเท้า เป็นเครื่องตกแต่ง สนับเพลาลายดอกพื้นสีส้มอ่อน

ลักษณะท้าววิรุฬหก

ท้าววิรุฬหก เทพผู้ดูแลประจำทิศใต้ (ทิศทักษิณ) มีลักษณะใบหน้าแบบยักษ์หน้ามนุษย์ มีกายขาบหรือน้ำเงินอมเขียว มือถือหอกเป็นอาวุธ สวมศิราภรณ์ทรงมงกุฎยอดกระหนกประดับกุณฑล สวมกรองศอ สวมสังวาล พาหุรัด กำไลข้อมือข้อเท้า นุ่งผ้าลายดอกพื้นแดง สนับเพลาลายสีเขียว สีทอง

ลักษณะท้าวธตรฐ

ท้าวธตรฐ เทพผู้ดูแลประจำทิศตะวันออก (ทิศบูรพา) มีลักษณะอย่างเทพบุตรรูปร่างงดงาม ผิวกายสีเนื้ออย่างมนุษย์ บรรเลงพิณสามสายเขียนแต่งลายพันธ์พฤกษา สวมศิราภรณ์ทรงมงกุฎยอดน้ำเต้า สวมเสื้อกั๊กประดับกุณฑลและสร้อยพระศอ สวมสังวาล พาหุรัด กำไลข้อมือ ข้อเท้า นุ่งผ้าลายดอกพื้นเขียวสนับเพลาลายดอกพื้นสีชมพูอ่อน

ลักษณะท้าววิรูปักษ์

ท้าววิรูปักษ์ เทพผู้ดูแลประจำทิศตะวันตก (ทิศประจิม) มีกายสีเนื้ออ่อนออกขาว มีธนูเป็นอาวุธ สวมศิราภรณ์ทรงมงกุฎยอดรูปพญานาคสามเศียรสวมสังวาลและพาหุรัดรูปพญานาค มีธนูเป็นอาวุธสวมกรองศอสวมเกราะเสื้อแขนสั้นสีเขียวแต่งกนกปลายแขนเสื้อแทนพาหุรัดนุ่งผ้าลายดอกพื้นน้ำเงิน กำไลข้อมือ ข้อเท้าเป็นเครื่องตกแต่ง สนับเพลาลายสีเขียว สีทอง

ตำนาน ประวัติความเป็นมาท้าวจตุโลกบาล (ท้าวจาตุมหาราช)

จากตำนานอาฏานาฏิยปริตร อาฏานาฏิยสูตร กล่าวไว้ว่า ในอดีตกาล เมื่อพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ท้าวจาตุมหาราช คือ ท้าวธตรฏฐ์ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) พร้อมด้วยบริวารอันได้แก่ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ มาเฝ้าพระพุทธเจ้า

ท้าวจาตุมหาราช หรือที่รู้จักกันว่า ท้าวจตุโลกบาล( ผู้รักษาโลกทั้ง ๔) ซึ่งเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ได้กราบทูลว่า อมนุษย์ที่เป็นบริวารของท้าวจตุโลกบาล มีบางพวกที่เลื่อมใสพระพุทธองค์ บางพวกก็ไม่เลื่อมใสพระพุทธองค์ เพราะพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม โดยให้ถือศีล ๕ คือ ให้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดเท็จ และละเว้นจากการเสพสุรา แต่เหล่าบริวาลของท้าวจตุโลกบาลรวมถึงมนุษย์ ยังละเว้นสิ่งเหล่านั้นมิได้ จึงไม่ค่อยเลื่อมใส พระสาวกของพระพุทธองค์ที่ประกอบวิปัสสนาธุระ ไปบำเพ็ญสมณธรรมในเสนาสนะป่าเปลี่ยว เมื่อไม่มีสิ่งป้องกัน อมนุษย์ก็จะรบกวนเบียดเบียนให้ลำบาก ขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องป้องกันรักษา คือ อาฏานาฏิยปริตรไว้ จะได้ประทานให้สาวกสวด จะทำให้อมนุษย์เลื่อมใส ไม่เบียดเบียนภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และกลับจะช่วยคุ้มครองรักษาให้อยู่ผาสุข แล้วจึงกล่าว อาฏานาฏิยปริตร ขึ้นในเวลานั้นว่า วัปัสสิสสะ นะมัตถุ เป็นต้น

เมื่อพระพุทธองค์ทรงและรับโดยดุษณีภาพ ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร จึงกราบทูลต่ออีกว่า ผู้ที่เจริญอาฏานาฏิยปริตรนี้ดีแล้ว อมนุษย์จะไม่ทำร้าย ถ้าอมนุษย์ยังผืนกระทำจะแพ้ภัยตัวเอง จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงนำสิ่งที่ท้าวเวสสุวรรณกราบทูลมาตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลาย ในภายหลังเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับท้าวจตุโลกบาลมีปรากฏอยู่ในหนังสือ โดยเฉพาะคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและสถานที่ต่างๆ เช่น ยอดเขาทางด้านทิศตะวันตกที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งพระราชวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รอบพระราชวังมีป้อมล้อมอยู่ทั้ง 4 ทิศ ทางทิศตะวันออกชื่อป้อมธตรฐป้องปก ทางทิศใต้ชื่อป้อมวิรุฬหกบริรักษ์ ทางทิศตะวันตกชื่อป้อมวิรูปักษ์ป้องกันและทางทิศเหนือชื่อป้อมเวสสุวรรณรักษา

ความเชื่อเรื่อง ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4

ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 คือ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ที่คุ้มครองทิศทั้ง 4 ตามตำนานทางศาสนาท้าวจตุโลกบาลเป็นเทพ ในกามาวจรภูมิ เป็นสวรรค์ชั้นแรกใน 7 ชั้น คือจตุมหาราชิกาดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมานรตี ปรนิมมิตวสวัตดี ตามแนวความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาตั้งอยู่บนเขายุคันธร สูงจากพื้นผิวโลก 46,000 โยชน์ สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสถานที่ พิเศษกว่ามนุษย์โลกด้านความเป็นอยู่และความสุข ดามาจรเทพชั้นนี้เรียกรวมกันว่า “จตุมหาราชิกเทวดา” ในสวรรค์ชั้นนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งมีมหาราชทั้ง 4 องค์ครองอยู่ แบ่งเป็นส่วนๆ คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวรรณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าท้าวกุเวร หรือในไตรภูมิพระร่วงเรียกท้าวไฟษพมหาราช ในสวรรค์ชั้นนี้ มีพระอินทร์เป็นราชาธิบดี คือเป็นผู้ปกครองเหล่าท้าวจตุมหาราชิกาอีกที

บทสวดคาถาบูชาท้าวจตุโลกบาล

บทสวดบูชาท้าวจตุโลกบาล แบบสั้น

*ท่องนะโม ๓ จบ*

ปุริมัง ทิสัง ธะตะรัฏ โฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ รูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา
ทัพทัฬหะมานะ อัฏฐังสุ สะทา โสตถิง กะโรนตุโน

สวดขอให้ท่านคุ้มครอง รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง และอธิษฐานขอความเป็นสิริมงคล อำนาจ บารมี โภคทรัพย์ รวมถึงมงคลทั้งปวง

พิกัดไหว้ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 และ ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร)

ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 จีน

ท้าวทั้งสี่ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 จีนเทพทั้งสี่ บูชาท้าวจาตุมหาราชา
ท้าวทั้งสี่ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 จีนเทพทั้งสี่ บูชาท้าวจาตุมหาราชา

ท้าวจตุโลกบาล จีน หรือ ซื่อต้าจินกัง (四大金刚) บ้างเรียกว่า ท้าวจาตุมหาราชา หรือ ซื่อต้าเทียนหวัง (四大天王) ในประเทศจีนตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 จีน หรือ ท้าวจาตุมหาราชา ทั้ง 4 เป็นมหาเทพผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนา ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “เทพสี่ทิศ” หรือ “ท้าวทั้งสี่” เช่นเดียวกับท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ของพุทธศาสนาในไทย อาจมีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดปลีกย่อยในด้านวัฒนธรรมความเชื่อ แต่โดยรวมแล้วท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 หรือท้าวจาตุมหาราชา ทั้ง 4 เป็นเทพบนสวรรค์ที่เป็นผู้พิทักษ์ คุ้มครองพุทธศาสนาในอาณาบริเวณแถบเอเซียตั้งแต่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เมียร์มา ไทย ลาว อินเดีย ซึ่งมีที่มาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ของจีนมีดังนี้

  1. ท้าวธตรฐมหาราช หรือ ฉือกว๋อเทียนหวาง (持国天王) ปกครองประจำตำแหน่งทิศตะวันออก คอยพิทักษ์ปกป้องประเทศ สัญลักษณ์หรืออาวุธประจำตัวท้าวธตรฐมหาราช (จีน) หรือ ฉือกว๋อเทียนหวาง คือ เครื่องดนตรีผีผา หรือ พิณ
  2. ท้าววิรุฬหกมหาราช หรือ เจิงจ่างเทียนหวาง (增长天王) ปกครองประ จำตำแหน่งทิศใต้ คอยพิทักษ์ปกป้องพระธรรม สัญลักษณ์หรืออาวุธประจำตัวท้าววิรุฬหกมหาราช (จีน) หรือ เจิงจ่างเทียนหวาง คือ กระบี่วิเศษ
  3. ท้าววิรูปักษ์มหาราช หรือกว่างมู่เทียนหวาง (广目天王) ปกครองประจำตำแหน่งทิศตะวันตก คอยพิทักษ์ปกป้องประชาราษฏร์ สัญลักษณ์หรืออาวุธประจำตัวท้าววิรูปักษ์มหาราช (จีน) หรือกว่างมู่เทียนหวาง คือ มังกรแดง
  4. ท้าวเวสสุวรรณมหาราช (ท้าวกุเวรมหาราช) หรือ ตัวเหวินเทียนหวาง (多闻天王) ปกครองประจำตำแหน่งทิศเหนือ คอยพิทักษ์ปกป้องให้มั่งคั่งร่ำรวย สัญลักษณ์หรืออาวุธประจำตัวท้าวเวสสุวรรณ (จีน) หรือ ตัวเหวินเทียนหวาง คือ ร่มวิเศษ หรือ เจดีย์

สถานที่ประดิษฐาน ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 จีน

ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ของจีน หรือเทพทั้งสี่ จะสร้างเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ ประดิษฐานไว้ ณ บริเวณวิหารต้น หรือทางเข้าศาสนสถานจีนนั้นๆ หรือส่วนมากศาสนสถานของจีน (วัดจีน หรือศาลเจ้าจีน) จะวาดรูปหรือแกะสลักท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ไว้ที่ประตูทางเข้าศาสนสถานนั้นๆ โดยแยกประดิษฐานอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวา ด้านละ 2 องค์

ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองศาสนสถานจีนประตูทางเข้า ซื่อต้าเทียนหวัง
ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ (ซื่อต้าเทียนหวัง) ผู้คุ้มครองศาสนสถานจีนประตูทางเข้า

วัดจีนส่วนใหญ่ และศาลเจ้าจีน จะประดิษฐานเทวรูปเทพเจ้า ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 อยู่ที่ประตูทางเข้า ฝั่งละ 2 องค์ เพื่อคอยคุ้มครองดูแล เป็นเทพผู้พิทักษ์ สถานที่ที่ประดิษฐาน ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 องค์มีดังนี้

  • วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) เจริญกรุง จ. กรุงเทพมหานคร
  • วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) บางบัวทอง จ.นนทบุรี
  • วัดเกตุมดีศรีวราราม จ.สมุทรสาคร
  • สถาบันพุทธศาสนา เถรวาทมหายาน วัดโฝวกวงซัน คู้บอน จ.กรุงเทพฯ
  • วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม

พิกัดไหว้ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 (จีน)

คำถามเกี่ยวกับบูชาท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4

บูชาท้าวจตุโลกบาล ธูปกี่ดอก ?

จุดธูปบูชาท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ด้วยธูปหอม 9 ดอก

รูปภาพท้าวจตุโลกบาล




ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:

  • เว็บไซต์ฐานข้อมูลพระเมรุมาศ และองค์ประกอบพระเมรุมาศ (phramerumas.finearts.go.th)
  • เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th.wikipedia.org)
  • เว็บไซต์วิกิซอร์ซ (th.wikisource.org)
  • 



เขียนคอมเมนท์