พระแม่คงคา เทพีแห่งสายน้ำผู้ชำระล้างความชั่ว ขอพร ขอขมาพระแม่คงคา ประเพณีลอยกระทง

พระแม่คงคา เทพีแห่งสายน้ำ ผู้ชำระล้างความชั่ว

พระแม่คงคา เทพแห่งการให้อภัย และการทำให้บริสุทธิ์

ทางศาสนาฮินดู แม่น้ำคงคา ถือแม่น้ำแห่งความศักดิ์สิทธิ์ หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนให้มีความสุข และมีรูปบุคลาธิษฐานเป็นเทวีพระนามว่า พระแม่คงคา (สันสกฤต: Gaṅgā) พระนางได้รับการเคารพบูชาในศาสนาฮินดู ที่ซึ่งมีความเชื่อว่าการลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคาจะเป็นการคลายบาปและช่วยหนุนไปสู่โมกษะ และเชื่อกันว่าน้ำในแม่น้ำคงคานั้นบริสุทธิ์มาก ผู้แสวงบุญที่เดินทางมานิยมนำเถ้าอัฐิของญาติผู้ล่วงลับมาลอยในแม่น้ำ เชื่อกันว่าจะช่วยนำพาดวงวิญญาณไปสู่โมกษะ เรื่องราวของพระนางพบได้ทั้งในฤคเวทและปุราณะต่าง ๆ

ศาสนสถานสำคัญของฮินดูหลายแห่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำคงคา ตั้งแต่ที่ คงโคตริ, หฤทวาร, ปรยาคราช, พาราณสี และกาลีฆัตในกัลกัตตา นอกจากการเคารพบูชาในศาสนาฮินดูแล้ว ในประเทศไทยมีเทศกาลลอยกระทง ที่ซึ่งมีการลอยกระทงบนทางน้ำไหล เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ และพระแม่คงคา เพื่อเป็นการสร้างบุญและล้างความชั่วร้ายตามความเชื่อว่าให้ลอยไปกับสายน้ำ

ประวัติพระแม่คงคา

คัมภัร์รามายณะ อธิบายว่า พระแม่คงคา เทพฮินดู เป็นลูกคนแรกของท่านหิมวัติ หรือหิมพานต์ (คนไทยรู้จักในนาม ป่าหิมพานต์) บุคลาธิษฐานของเทือกเขาหิมาลัย และเป็นน้องสาวของพระแม่ปาราวตี อย่างไรก็ตาม ข้อความอื่นๆ กล่าวถึงที่มาของเธอจาก พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ มหาเทพผู้พิทักษ์ ตำนานมุ่งเน้นไปที่การสืบเชื้อสายมาจากโลกภูมิ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจาก พระศิวะ หรือพระอิศวร มหาเทพสูงสุด ในมหากาพย์มหาภารตะ พระแม่คงคาเป็นมารดาของนักรบภีษมะ หรือ เจ้าชายเทวพรต เป็นพระโอรสของพระราชาศานตนุ แห่งกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ

พระคัมภีร์บางเล่มกล่าวว่า พระแม่คงคา มีประวัติดังนี้ พระองค์เป็นพระธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา มีน้องสาวนามว่า พระอุมาภควตี พระองค์ทรงเป็นพระชายาของพระศิวะ ตามคติความเชื่อของอินเดีย ว่ากันว่าพระองค์ทรงปลาใหญ่หรือจระเข้เป็นพาหนะ พระองค์เป็นเทวีผู้ให้กำเนิดสายน้ำคงคาตามความเชื่อของชาวอินเดีย

บางตำนาน กล่วว่า อดีตโลกมนุษย์บังเกิดความแห้งแล้งอย่างหนัก ซึ่งเกิดจากการที่ พระแม่คงคา ไม่ยอมปล่อยน้ำลงมาสู่โลกมนุษย์แล้วเสด็จหนีไป จึงทำให้มนุษย์และสัตว์ล้มตายเป็นจำนวนมาก บรรดาเทพและเทวดา เห็นดังนั้นจึงไปกราบทูลเชิญมหาเทพพระศิวะ ให้ทรงจัดการเรื่องนี้ พระองค์จึงทรงออกตามหาพระแม่คงคากลับมา แล้วให้พระแม่คืนสายน้ำให้มนุษย์ แต่พระแม่ไม่ยอม พระองค์จึงทรงใช้พระเกศรัดพระแม่คงคาจนพระนางยอมปล่อยสายน้ำออกมา

ในศาสนาฮินดู คงคาถูกมองว่าเป็นมารดาของมนุษยชาติ ผู้แสวงบุญแช่ขี้เถ้าของญาติของพวกเขาในแม่น้ำคงคาซึ่งถือว่าพวกเขานำวิญญาณ (วิญญาณที่บริสุทธิ์) เข้ามาใกล้โมกษะมากขึ้น ซึ่งเป็นือการปลดปล่อยจากวงจรแห่งชีวิตและความตาย เทศกาลต่างๆ เช่น เทศกาลวันคงคาทูสเสหระ (GANGA DUSSEHRA) และ เทศกาลวันกำเนิดพระแม่คงคา (Ganga Jayanti) มีการเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแก่พระแม่คงคาในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ปัจจุบันยังมีการสักการะขอพร ขอขมา พระแม่คงคา ในช่วงเทศกาลวันลอยกระทงในประเทศไทย

เหตุแห่งความศรัทธา พระแม่คงคา

พระแม่คงคา ตามความเชื่อชาวฮินดู

คงคา เป็นชื่อแม่น้ำ ที่มีความสำคัญ แม่น้ำคงคาเป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดูบูชาในฐานะเทพี(เทวี) แห่งการให้อภัยและการทำให้บริสุทธิ์ ไร้มลทิน คงคา เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อต่างๆ รวมถึง คงคาเทวี หรือพระแม่คงคา ที่ชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี มักถูกพรรณนาว่าเป็นหญิงงามผู้สง่างาม ทรงพาหนะศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่ามาการะ (จระเข้) การกล่าวถึง คงคา ครั้งแรกที่พบคือ จากคัมภัร์ฤคเวท ซึ่งพระนางถูกกล่าวถึงว่าเป็นแม่น้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เรื่องราวของพระแม่คงคาเทวี ส่วนใหญ่ปรากฏในคัมภัร์พระเวทต่างๆ เช่น คัมภัร์รามายณะ คัมภัร์มหาภารตะ และคัมภัร์ปุราณะ

พระแม่คงคา กำเนิดจากที่ใด

พระแม่คงคา ถือกำเนิดจากแม่น้ำคงคา แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีความสำคัญมากทางศาสนาฮินดู ในดื่ม ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ชำระล้างบาป ชาวฮินดูเชื่อกันว่า น้ำที่มาจากแม่น้ำคงคาเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นน้ำที่มาจากยอดเขาหิมพานต์ หรือ เทิอกเขาหิมาลัย เป็นการรวมตัวของสายน้ำ ที่ค่อยๆละลายจากเทือกเขาหิมาลัย ที่เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เปรียบเสมือน เขาไกรลาศ บนสวรรค์ เป็นที่ประทับของเหล่า มหาเทพ เทพ เทพีและเทวดาต่างๆ เป็นศูนย์กลางของการกำเนิดทั้งปวง น้ำที่มีแหล่งกำเนิดจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่บรรดาเทพทั้งหลายของพวกเขาได้ประทานมาสู่ผู้คนบนโลกมนุษย์

พระแม่คงคา ตามความเชื่อชาวไทย

ตามคติความเชื่อของชาวไทย ที่เป็นชาวพุทธแต่มีการผสมผสานตามความเชื่อท้องถิ่นที่มีการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพนับถือของตนรวมเข้ากับการับ พระพุทธเจ้าทางศาสนาพุทธ

ศรัทธาพระแม่คงคา สู่ประเพณีวันลอยกระทง

สิ่งที่มีความเกี่ยวเนื่องถึงชาวพุทธในประเทศไทย เกี่ยวกับพระแม่คงคา ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างคือ พระแม่คงคาที่เกี่ยวข้องกัล ประเพณีวันลอยกระทง ซึ่งการลอยกระทง เป็นประเพณีพิธีอย่างหนึ่งที่ตรงกับ คืนวันเพ็ญเดือน 12 ประเพณีวันลอยกระทง เป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ สืบเนื่องจากผู้คนสมัยก่อนก่อนมีการเลือกที่ตั้งของชุมชนใกล้กับแหล่งน้ำ เพื่อความสะดวกในการใช้น้ำเพื่อดำรงชีวิต และการเพาะปลูก ชาวบ้านอาศัยแหล่งน้ำในการทำการเกษตร แหล่งน้ำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ประกอบกับความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้าน จึงเกิดเป็นพิธรกรรมในการไหว้ขอพร ขอขมาแหล่งน้ำ ทำให้หลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา เมื่อชาวไทยได้รับอิทธิพลทางศาสนาและความเชื่อจากพราหมณ์ ฮินดูที่มี บูชาพระแม่คงคาของชาวฮินดู ทำให้มีความสอดคล้องกับการบูชาแหล่งน้ำชาวไทย จึงกลายเป็นประเพณีการบูชาพระแม่คงคา และที่เรียกว่า ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของ ประเพณีวันลอยกระทง

การลอยกระทง เป็นการลอยสิ่งที่ไม่จมน้ำ จุดธูปเทียนปักลงบนสิ่งประดิษฐ์เป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระทงเรือ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปปล่อยลงให้ลอยไปตามลำน้ำ ในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป

ลักษณะพระแม่คงคา

ลักษณะของพระแม่คงคา อ้างอิงตามรูปเคารพ พระแม่คงคา นิยมสร้างรูปสตรีท่าทางใจดี มีผิวพระวรกายอ่อน ประทับบนพาหนะจระเข้ หรือมกร ในพระหัตถ์ทรงดอกบัวในหัตถ์หนึ่ง และพิณอินเดียในอีกหัตถ์หนึ่ง หากเป็นรูปสี่พระหัตถ์อาจทรงหม้อกลัศ หรือหม้อใส่น้ำอมฤต, ประคำ, ดอกบัว, ศิวลึงค์, ตรีศูร หรือทรงวรทมุทราหรือมุทราอื่นๆ ตามแต่ศิลปะนั้น

พาหนะและบริวารแม่คงคา

ตามคัมภีร์ปุราณะ จะเห็นพระแม่คงคานิยมสร้างรูปเคียงกับพระวาหนะ หรือ พาหนะของพระแม่คงคา คือ มกร หรือสิ่งมีชีวิตที่คล้ายมังกรในศาสนาฮินดู บ้างก็คล้ายจระเข้ มีลักษณะการใช้มกร หรือจระเข้ เป็นพาหนะ ได้รับการตีความอย่างหลากหลาย บ้างว่าเป็นตัวแทนของความฉลาดเฉลียว การเอาชนะความดุร้าย เป็นต้น

ศาสตราวุธพระแม่คงคา

ศาสตราวุธ หรืออาวุธประจำกายของพระแม่คงคา โดยทั่วไปพระแม่คงคาจะมีสี่กร และทรงจระเข้เป็นพาหนะ มีตรีศูลย์เป็นอาวุธ มีหม้อกลาฮัม และหม้อน้ำ บางครั้งก็จะวาดมีสองกร และทรงอาวุธตรีศูลย์

ที่ประทับพระแม่คงคา

วิมานที่ประทับของพระแม่คงคา คือ เขาไกรลาศ ที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำคงคา

บทสวดคาถาบูชาพระแม่คงคา

คาถาบูชาพระแม่คงคา

โอม อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ

ทุติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ

ตะติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ

คำอธิษฐานขอพรพระแม่คงคา วันลอยกระทง

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ

(คำแปลคำอธิษฐานสำหรับลอยกระทง) ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำชื่อนัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้ กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ (ผู้กล่าวคำถวายไม่ต้องกล่าวว่า “สาธุ”)

คำขอขมาพระแม่คงคา

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

คำขอขมาพระแม่คงคา วันลอยกระทง

ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ

พิกัดไหว้พระแม่คงคา

  •  

รูปภาพพระแม่คงคา

วันลอยกระทง ปี 2564


ที่มา:

  • เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th.wikipedia.org)



เขียนคอมเมนท์